differences-between-studying-in-us-and-uk

อังกฤษ vs อเมริกา
เรียนต่อประเทศไหนดี?

differences-between-studying-in-us-and-uk

ไปเรียนต่อประเทศไหนดี ต้องเตรียมตัวอย่างไร เข้ามหาวิทยาลัยไหน เรียนต่อด้านไหน ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ คำถามมากมายที่น้อง ๆ ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลายต้องวางแผน ศึกษาข้อมูล และที่สำคัญต้องถามตัวเองว่าอนาคตการเรียนของตนจะไปในเส้นทางไหน

การได้ไปเรียนต่อต่างประเทศนั้นมีข้อดีต่าง ๆ มากมาย เช่น ทำให้น้อง ๆ เรียนรู้และพบเจอผู้คนที่หลากหลายทั้งเชื้อชาติและวัฒนธรรม ได้พัฒนาการเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) มากยิ่งขึ้น ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากสังคมใหม่ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ของเรา รวมไปถึงได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาอันมีชื่อเสียงระดับโลก และคำถามที่ทีมเมนเทอร์ที่ Point Avenue Thailand พบเจอคือ “เรียนต่อต่างประเทศที่ไหนดีกว่ากัน ระหว่างประเทศอังกฤษหรือประเทศอเมริกา?”

young-asian-creative-woman-thinking-ideas-concept

คำว่า “ดีกว่า” ในที่นี้ ทางพอยท์ อเวนิว อยากให้มองว่าเป็นเรื่องของมุมมองส่วนบุคคล เนื่องจากว่าคำว่า “ดีกว่า” นั้นขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะทำงานที่ต่างประเทศหรือไม่? และน้อง ๆ รู้หรือยังว่าตัวเองอยากเรียนต่อทางด้านสาขาวิชาอะไร? หรืออยากเรียนต่อโดยใช้ระยะเวลาเท่าไหร่? 

และนี่คือปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาถ้าอยากเรียนต่อต่างประเทศ

1. ค่าเทอม

coins-in-jar-with-label-with-education-words

สำหรับค่าเทอมในการเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกานั้นอยู่ประมาณ 40,000 - 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ส่วนค่าเรียนในมหาวิทยาลัยกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักรอยู่ที่ราว ๆ 14,000 - 53,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นเรทค่าเทอมสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ส่วนทางฝั่งประเทศอังกฤษก็ไม่ได้ดูเหมือนว่าค่าเทอมจะถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคิดพิจารณา และถ้าหากน้อง ๆ อยากที่จะเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นของทางภาครัฐ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ไว้คือ น้อง ๆ จะไม่สามารถขอทุนการศึกษาต่าง ๆ ได้เลย เพราะว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถานศึกษาที่ก่อตั้งโดยทางภาครัฐ ดังนั้นเรื่องทุนการศึกษาจะมีให้สำหรับนักศึกษาชาวอเมริกันเท่านั้น 

ในส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนและสาขาวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสามารถจัดความช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับนักศึกษาต่างชาติอย่างเรา ๆ ได้ถึงครึ่งหนึ่งของเรทการสมัครเข้าเรียนเลย ส่วนเรื่องค่าเทอมสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษนั้นขึ้นอยู่กับสาขาและวิชาเอกที่เรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วค่าเทอมของภาคการเรียนทางด้านสังคมวิทยาจะน้อยกว่าค่าเทอมการเรียนทางด้านสาขาวิทยาศาสตร์เพราะคณะเหล่านี้จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนห้องปฏิบัติการและการขึ้นคลินิกอีกด้วย น้อง ๆ ยังต้องรู้อีกว่าค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นแค่ค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนค่าเทอมการศึกษาเท่านั้น ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษานั้น ๆ เพราะมีเรื่องของค่าครองชีพที่จะเป็นอีกปัจจัยในการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดอีกด้วยค่ะ

 

2. ระยะเวลาในการศึกษา

ในประเทศสหรัฐอเมริกาการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตมักจะใช้เวลา 4 ปี เพื่อสำเร็จการศึกษา ส่วนในกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักรใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งจำนวนปีการเรียนนั้นมีผลโดยตรงกับค่าครองชีพที่เราต้องเตรียมไว้ แต่ 1 ปีที่แตกต่างกันระหว่างการเรียนในอังกฤษและในอเมริกานั้น ยังเป็น 1 ปีแห่งประสบการณ์การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย หากเรื่องเงินไม่ใช่ปัจจัยหลักต้องคำนึงถึง การได้ใช้ชีวิตในขอบรั้วมหาวิทยาลัยเพิ่มอีก 1 ปีนั้นคือการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้สร้างคอนเนกชั่นในรั้วมหาวิทยาลัย การได้ใช้บริการต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยมีให้ รวมถึงได้ค้นหาสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ เพราะในที่สุดแล้วน้อง ๆ อย่าลืมว่าชีวิตมหาวิทยาลัยนั้นมีแค่ 1 ครั้ง และหลังจากนั้นคือชีวิตแห่งโลกของการทำงาน

3. คณะและสาขาวิชาที่จะเรียน

international-college-students-in-group

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาคือวิธีการและช่วงเวลาที่จะต้องตัดสินใจเพื่อเรียนในคณะหรือสาขา วิชาเอก ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังคงมีสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เปิดให้นักศึกษาในภาควิชาเหล่านี้เลือกเรียนวิชาทั่วไปต่าง ๆ ก่อนที่เลือกวิชาเอกในช่วงภาคเรียนปีที่สอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่านักศึกษาหลาย ๆ คนอาจมีการเปลี่ยนวิชาเอกไปมาหลายครั้งในช่วงระยะเวลานี้ เพราะเราได้มีโอกาสในการทดลองเรียนเพื่อค้นหาความชอบของตนเอง

ในขณะที่ทางฝั่งประเทศสหราชอาณาจักรจะไม่เหมือนกัน เพราะจำเป็นที่จะต้องยื่นประกาศสาขาวิชาเอกตั้งแต่ตอนที่ยื่นสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น ๆ และพอได้เริ่มเข้าเรียน น้อง ๆ จะได้เริ่มเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาเอกทันที เราจึงจำเป็นที่จะคิดให้ดีว่าน้อง ๆ ค้นพบสิ่งที่ชอบแล้วหรือยัง หรืออยากที่จะใช้โอกาสในการค้นหาก่อนหรือไม่

ลองนึกง่าย ๆ ว่าหากน้องกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ แล้วเกิดอยากย้ายวิชาเอกเป็นอีกวิชาหนึ่ง น้อง ๆ จำเป็นแทบจะต้องเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาใหม่ตั้งแต่ต้น ในขณะที่ถ้าน้อง ๆ กำลังศึกษาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราสามารถที่จะย้ายวิชาเอกได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายังไม่ได้ประกาศวิชาเอก

4. ระบบการสมัคร กลยุทธ์ในการสมัคร และระยะเวลา

college-application-paperwork

ในหัวข้อนี้ Point Avenue Thailand อยากกล่าวถึงระบบการสมัครของทั้งสองประเทศระหว่างประเทศอังกฤษ และอเมริกา 

A) ระบบ Common App ของประเทศสหรัฐอเมริกา

common-app-logo

 

Common App portal คือระบบที่หลาย ๆ มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ในการรับสมัครนักศึกษา แต่ก็ยังมีระบบแบบอิสระ หรือ Coalition for the Access application ที่มหาวิทยาลัยอย่าง University of California ใช้ในการรับสมัคร แต่โดยรวมแล้วระบบที่น้อง ๆ จะได้เจอบ่อยที่สุดคือ Common App 

Common App คือระบบกลาง แต่ส่วนที่สำคัญคือส่วนที่เป็นเรื่องของเล่าถึงกิจกรรม รางวัล เกียรตินิยม ผลการทดสอบ และความรู้เชิงวิชาการ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็น Personal Statement รวมไปถึง Supplemental Essays ที่ทุกมหาวิทยาลัยต้องการ สำหรับคนอเมริกันแล้วพวกเขาชอบอ่านเรื่องราวที่เล่าถึงการเป็นผู้นำ ส่วนเรียงความ (essay) ที่ว่านั้นควรจะเป็นการพรรณนาเล่าเรื่องราวที่บ่งบอกถึงตัวตนของน้อง ๆ มุมมองการมองโลก และสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิต เอกสารการสมัครจึงควรเป็นการถ่ายทอดชีวิต บุคคลิกลักษณะแต่ละด้านของน้อง ๆ ออกมาเป็นเรื่องราว

B) ระบบ UCAS ของประเทศอังกฤษ

ในกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักรใช้ระบบ UCAS (Universities and Colleges Admissions Service) สำหรับการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกับระบบ Common App ของอเมริกา การเล่าเรื่องราวของการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่เหล่าคณะกรรมการมองหาในระบบ UCAS อีกทั้งไม่ได้ต้องการเรียงความ (essay) ที่ต้องเน้นความสร้างสรรค์มากมาย ในทางตรงกันข้ามระบบการสมัครของ UCAS เน้นเรื่องความรู้เชิงทฤษฎีและวิชาการ ดังนั้นเรียงความ (essay) ของน้อง ๆ จึงควรเป็นการเล่าเรื่องราวจุดแข็งในมุมนั้นออกมา

ดังนั้นผลการเรียนของน้อง ๆ จะมีน้ำหนักมากสำหรับการสมัครเรียนต่อในประเทศอังกฤษ ถึงแม้ว่าทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกาความเป็นเลิศทางวิชาการไม่ได้เป็นตัวแปรสำคัญ และอาจถูกมองข้ามไปหากเหล่าคณะกรรมการพบว่าน้อง ๆ เคยผ่านประสบการณ์การเป็นผู้นำชุมชนหรือท้องถิ่น

ด้านล่างนี้คือช่วงเวลาที่ควรรู้ไว้ในการสมัครเรียนต่อทั้งในประเทศอเมริกา และประเทศอังกฤษ

ระยะเวลาสำหรับการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอเมริกา

วันที่ รายละเอียด
1 พฤศจิกายน
Early Action or Early Decision
15 พฤศจิกายน
University of Washington Schools
30 พฤศจิกายน
University of California Schools
1 ธันวาคม
University of Texas Schools
1-15 มกราคม
Regular Decision

ระยะเวลาสำหรับการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอังกฤษ

วันที่ รายละเอียด
15 ธันวาคม
Oxbridge (Oxford and Cambridge) Deadline
15 มกราคม
UCAS deadline

และหากน้อง ๆ มีคำถามเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อทางทีมเมนเทอร์ของพวกเราได้เลย ที่นี่

แสดงความคิดเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *