วิธีทำให้งานเขียนของน้อง ๆ น่าอ่าน
วิธีที่จะทำให้งานเขียนของน้อง ๆ น่าอ่านนั้น น้อง ๆ จำเป็นต้องอาศัยวิธีในการเล่าเรื่องราวหรือเขียนอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมไปด้วยในขณะที่อ่าน รวมไปถึงจินตนาการเพื่อร้อยเรียงคำพูดสู่ตัวอักษรล้วนมีคุณค่าในการสะกดจิตผู้อ่านให้จดจ่ออยู่กับเรื่องราวนั้น ๆ ในบทความนี้ Point Avenue Thailand จึงอยากแชร์ 4 เทคนิคสั้น ๆ เข้าใจง่าย ซึ่งน้อง ๆ สามารถนำไปใช้ได้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนที่จะทำให้บทความของน้อง ๆ น่าอ่านมากขึ้นค่ะ
4 วิธีทำให้งานเขียนของน้อง ๆ น่าอ่าน
-
1. จำไว้ว่าบทร่างบทแรกมักยังไม่ถูกใจเสมอ1. จำไว้ว่าบทร่างบทแรกมักยังไม่ถูกใจเสมอ
-
2. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราเขียนได้ไหลลื่น2. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราเขียนได้ไหลลื่น
-
3. หาแรงบันดาลใจ3. หาแรงบันดาลใจ
-
4. เปิดอิสระแห่งการเขียนให้ตัวเอง4. เปิดอิสระแห่งการเขียนให้ตัวเอง
1. จำไว้ว่าบทร่างบทแรกมักยังไม่ถูกใจเสมอ
เทคนิคข้อแรกเลยที่ต้องระลึกไว้เสมอคือ การเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ (article) การเขียนเรียงความ (essay) หรือแม้กระทั่งการเขียนแนะนำตัว (personal statement) นั้น น้อง ๆ ต้องร่างฉบับแรกขึ้นมาก่อน ฉบับร่างนั้นอาจเป็นแค่การจดความคิดหรือหัวข้อต่าง ๆ ลงบนกระดาษเพื่อเพิ่มเนื้อหาหรือรายละเอียดอื่น ๆ ในภายหลัง ดังนั้นน้อง ๆ ควรเตรียมใจไว้ว่าข้อความในฉบับร่างนั้นเป็นแค่การร่างความคิดซึ่งยังไม่สมบูรณ์แบบ และอาจจะมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้
2. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราเขียนได้ไหลลื่น
ในขั้นตอนการเขียนบทความ (article) การเขียนเรียงความ (essay) จดหมายแนะนำตัว (personal statement) หรือรูปแบบงานเขียนอื่น ๆ คือการกลั่นกรองความคิด และถ่ายทอดสิ่งนั้นลงมาในรูปแบบตัวอักษรซึ่งคนอื่น ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ การหาความลื่นไหลในการทำงานหรือสมาธิในการทำการใด ๆ นั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลา สถานที่ บรรยากาศ หรือแม้กระทั่งผู้คนรอบข้าง ลองค้นหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของน้อง ๆ เองเพื่อให้งานเขียนออกมาไหลลื่นที่สุด ซึ่งบางคนสามารถเขียนได้ไหลลื่นเมื่ออยู่ในสถานที่สงบ หรือบางคนสามารถเขียนได้ไหลลื่นเมื่ออยู่ในสถานที่ที่แวดล้อมไปด้วยผู้คน
3. หาแรงบันดาลใจ
น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าการจะสร้างงานเขียนที่ดีออกมาได้นั้น เราต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วยเพราะการอ่านทำให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้รูปแบบการเขียนต่าง ๆ เช่น งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ งานเขียนสารคดี นวนิยาย บทความ ฯลฯ อีกทั้งการอ่านทำให้น้อง ๆ ได้สะสมคลังคำศัพท์เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้คำเหล่านั้นในงานเขียนของตนเอง น้อง ๆ อาจจะได้แรงบันดาลใจจากหนังสือบางเล่ม นักเขียนบางคน เพื่อสร้างสรรค์สไตล์ของตัวเองด้วยนะคะ
4. เปิดอิสระแห่งการเขียนให้ตัวเอง
การร่างงานเขียนฉบับแรก น้อง ๆ สามารถใช้เทคนิคที่เรียกว่า free writing ได้ซึ่งคือการเปิดอิสระ การเขียนให้ตัวเอง นักเขียนหลาย ๆ คนมักจะใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานไม่ว่าจะเป็นการเขียน บรรยาย การเขียนเรื่องสั้น ฯลฯ
เทคนิคการเขียนแบบ free writing คือการเขียนแบบอิสระเพื่อให้ความคิดต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนหัวข้องานเขียนของตัวเองมีความไหลลื่นและหลากหลายเพิ่มขึ้น ซึ่งน้อง ๆ ไม่จำเป็นที่ต้องกังวลเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์ หรือความคิดที่อาจไม่ปะติดปะต่อกัน เพราะท้ายที่สุด น้อง ๆ ต้องมาเกลาการเขียนให้ดีขึ้นอีกครั้ง
Point Avenue Thailand หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้อง ๆ มีเทคนิคในการเขียนเพิ่มขึ้นค่ะ อย่าลืมว่าจินตนาการคือสิ่งที่น้อง ๆ จะทำให้เรื่องราว บทความ หรือแม้กระทั่งจดหมายแนะนำตัว (personal statement) ของน้อง ๆ สะกดจิตผู้อ่านให้จดจ่ออยู่กับตัวหนังสือนั้น เพราะจินตนาการนั้นมีพลังในการเปลี่ยนแปลงตามคำกล่าวด้านล่างนี้ของ Paulo Coelho นักเขียนหนังสือชื่อดัง
“Everybody has a creative potential and from the moment you can express this creative potential, you can start changing the world.” — Paulo Coelho
ท้ายที่สุดนี้หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากลงคอร์สฝึกการเขียนเพื่อยกระดับทักษะการเขียนให้น่าสนใจขึ้นสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ Free diagnostic test ได้ ที่นี่.