วิธีการพูดในที่สาธารณะ เทคนิคชนะใจผู้ฟัง
การพูดในที่สาธารณะอาจฟังดูเหมือนภารกิจที่ยากและน่ากลัว แต่การทำให้ผู้ฟังนั้นมีส่วนร่วมในการพูดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเป็นการเน้นว่าสารที่น้อง ๆ สื่อออกมานั้นถูกถ่ายทอดออกไปยังผู้ฟังและเป็นที่น่าจดจำ Point Avenue Thailand จึงขอแบ่งปัน 7 วิธีในการพูดในที่สาธารณะอย่างไรให้น่าฟังค่ะ
7 วิธีการพูดในที่สาธารณะ เทคนิคชนะใจผู้ฟัง
-
1. เริ่มให้คนจดจำ1. เริ่มให้คนจดจำ
-
2. ส่งสายตา2. ส่งสายตา
-
3. เล่นมุกตลก3. เล่นมุกตลก
-
4. ใช้สื่อภาพในการเล่าเรื่อง4. ใช้สื่อภาพในการเล่าเรื่อง
-
5. ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม5. ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
-
6. ใช้วิธีเล่าเรื่อง6. ใช้วิธีเล่าเรื่อง
-
7. กระตือรือร้นที่จะพูด7. กระตือรือร้นที่จะพูด
1. เริ่มให้คนจดจำ
ช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 2-3 นาทีแรกนั้นมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากว่าเป็นช่วงเวลาที่น้อง ๆ จะต้องดึงความสนใจของผู้ฟังให้ได้ น้อง ๆ อาจเริ่มต้นการพูดด้วยหัวเรื่องที่เป็นสถิติตัวเลขที่น่าจดจำ หรือเล่าเรื่องที่ทำให้ผู้ฟังสามารถเชื่อมโยงความคิดนั้น ๆ กับหัวข้อที่กำลังจะพูดในลำดับถัดมา หรืออาจตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ฟังขบคิดตาม
2. ส่งสายตา
การพูดกับผู้ฟังจำนวนมาก น้อง ๆ จำเป็นที่จะต้อง “เข้าถึง” ตัวผู้ฟังให้ได้ในระดับที่อาจเรียกว่าสนิทกัน วิธีที่จะช่วยทำให้ผู้พูดและผู้ฟังเข้าถึงกันและกันได้นั้นคือการส่งสายตาของผู้พูดไปยังผู้ฟังแต่ละคนในกลุ่ม เพราะการส่งสายตาเป็นการสร้างสัมพันธภาพและทำให้ผู้ฟังจดจ่อกับผู้พูด
3. เล่นมุกตลก
รู้หรือไม่ว่าเสียงหัวเราะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเวลาพูดในที่สาธารณะ อารมณ์ขบขันสามารถช่วยลดกำแพงระหว่างผู้พูดและผู้ฟังลง ลองใข้มุกตลกสัก 2-3 มุกระหว่างที่กำลังพูดในที่สาธารณะ แต่น้อง ๆ ต้องมั่นใจว่ามุกตลกนั้นเหมาะสมและถูกกาละเทศะในการพูดตรงพื้นที่นั้น
4. ใช้สื่อภาพในการเล่าเรื่อง
สื่อภาพต่าง ๆ สามารถช่วยลดความน่าเบื่อของการพูด และยังช่วยให้การพูดมีสีสันและมีน้ำหนักมากขึ้นอีกด้วย ลองใช้ภาพสไลด์ สื่อวีดีโอเพื่อเป็นสื่อประกอบในการเล่าเรื่อง อย่างไรก็ตามต้องคำนึงว่าการใช้สื่อภาพต่าง ๆ นั้นควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะสม
5. ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
พยายามดึงความสนใจของผู้ฟังด้วยการให้พวกเขามีส่วนร่วมกับคำพูดของน้อง ๆ ซึ่งอาจจะใช้วิธีในการขอให้พวกเขาเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ต่าง ๆ หรืออาจจะให้พวกเขาตั้งคำถามเพื่อให้ได้ขบคิด วิธีนี้จะทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการพูดของน้อง ๆ และยังได้ข้อมูลแบบเจาะลึก ซึ่งทำให้การพูดในที่สาธารณะมีสีสันมากขึ้น
6. ใช้วิธีเล่าเรื่อง
มนุษย์เราสามารถสร้างความเชื่อมโยงกับเรื่องเล่าได้ดีกว่าการฟังตัวเลขสถิติหรือการเข้าใจคอนเซ็ปท์นามธรรม ลองใช้เรื่องเล่าหรือตัวอย่างที่ทำให้ประเด็นของน้อง ๆ ชัดเจนมากขึ้นผู้ฟังจะสามารถเชื่อมโยงกับสารที่จะสื่อออกมาได้ ดังนั้นการใช้วิธีนี้จะทำให้การพูดในที่สาธารณะของน้อง ๆ เป็นที่น่าจดจำและทรงพลังมากขึ้น
7. กระตือรือร้นที่จะพูด
หากผู้พูดมีความสนใจและดูกระตือรือร้นมากในหัวข้อที่กำลังพูด ผู้ฟังมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในการฟังมากกว่า เวลาพูดจึงควรพูดด้วยความกระตือรือร้นและมีพลัง เพราะวิธีนี้จะทำให้เข้าถึงผู้ฟังได้ในระดับที่ลึกซึ้งและทำให้มีส่วนร่วมตลอดช่วงเวลาที่กำลังสื่อสารอยู่
บทสรุปคือการทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการพูดในที่สาธารณะของน้อง ๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเริ่มการพูดให้คนจดจำ ส่งสายตา เล่นมุกตลก ใช้สื่อภาพ ฯลฯ น้อง ๆ จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้และทำให้สารที่สื่อออกไปยังเป็นที่น่าจดจำมากยิ่งขึ้น